Follow Us :
 
     
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้


         การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่ให้ผู้สอนใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนซึ่งข้อมูลที่แสดงพัฒนาการความก้าวหน้าความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน
จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพและเพื่อตัดสินผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือการประเมินและ
ตัดสินผลการเรียนให้ผู้เรียนจบการศึกษา  แต่
ละช่วงชั้นจบหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับและจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามเกณฑ์มาตรฐานการผ่านช่วงชั้นและจบ
หลักสูตรที่กำหนดไว้ ดังนี้

 1. การประเมินสาระการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
         เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของ 8 กลุ่มสาระ ดังนี้ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
เกณฑ์การตัดสินผลการเรียน
ระดับผลการเรียน 4 หมายถึง  ผลการเรียน ดีเยี่ยม (80 – 100 คะแนน)
ระดับผลการเรียน 3.5 หมายถึง  ผลการเรียน ดีมาก (75 – 79 คะแนน)
ระดับผลการเรียน 3 หมายถึง  ผลการเรียน ดี   (70 – 74 คะแนน)
ระดับผลการเรียน 2.5 หมายถึง  ผลการเรียน ค่อนข้างดี   (65 – 69 คะแนน)
ระดับผลการเรียน 2 หมายถึง  ผลการเรียน น่าพอใจ (60 – 64 คะแนน)
ระดับผลการเรียน 1.5 หมายถึง  ผลการเรียน พอใจ (55 – 59 คะแนน)
ระดับผลการเรียน 1 หมายถึง  ผลการเรียน ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ      (50 – 54 คะแนน)
ระดับผลการเรียน 0 หมายถึง  ผลการเรียน ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ (0 – 49 คะแนน)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.1 - 6) มีการประเมินผล การเรียนรู้เป็นรายภาคเรียน
 2. การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ
         เป็นการประเมินด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ กำหนดเกณฑ์การประเมินเป็นระดับคุณภาพ ดังนี้
ระดับ 3 หมายถึง ดีเยี่ยม
ระดับ 2 หมายถึง ดี
ระดับ 1 หมายถึง ผ่าน
ระดับ 0 หมายถึง ไม่ผ่าน
 3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
        เป็นการประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด ดังนี้
ระดับ 3 หมายถึง ดีเยี่ยม
ระดับ 2 หมายถึง ดี
ระดับ 1 หมายถึง ผ่าน
ระดับ 0 หมายถึง ไม่ผ่าน
 4. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
    
    มีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ผ  หมายถึง  ผู้เรียนมีเวลาร่วมกิจกรรมแต่ละกิจกรรมร้อยละ 80 และมีคะแนนรวมของจุดประสงค์การเรียนรู้ร้อยละ 80                
มผ  หมายถึง  ผู้เรียนมีเวลาร่วมกิจกรรมแต่ละกิจกรรมไม่ถึงร้อยละ 80 และมีคะแนนรวมของจุดประสงค์การเรียนรู้ไม่ถึงร้อยละ 80
 5. เกณฑ์การตัดสินผลการเรียนผ่านช่วงชั้นและจบหลักสูตรการศึกษา
     1. ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินสาระการเรียนรู้ครบทั้ง 8 กลุ่ม (ภาษาไทย,คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ,          สุขศึกษาและพลศึกษา,การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ภาษาต่างประเทศ) และได้รับการตัดสินผลการเรียนให้ได้ตาม เกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
     2. ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความให้ได้ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
     3. ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
     4. ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนครบทุกกิจกรรม ตามเกณฑ์   ที่โรงเรียนกำหนด
 6. การขอมีสิทธิ์สอบปลายภาค กรณีมีเวลาเรียนไม่ครบ 80 %
     1. คุณครูประจำวิชาแจ้งชื่อนักเรียนที่มีเวลาเรียนไม่ครบ 80 % ก่อนสอบ 2 สัปดาห์
     2. นักเรียนที่มีเวลาเรียนไม่ครบ 80 % นำจดหมายจากงานทะเบียนและวัดผลแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ
     3. ผู้ปกครองและนักเรียนพบเจ้าหน้าที่งานทะเบียนวัดผล เพื่อเขียนคำร้องขอมีสิทธิ์สอบที่ห้องทะเบียนและวัดผลประเมินผล
     4. เสนอรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
     5. รอฟังผลการพิจารณาจากผู้อำนวยการ และจะประกาศผลก่อนวันเริ่มสอบ 1 วัน
 7. การขอสอบกรณีพิเศษ
    นักเรียนคนใดเกิดเจ็บป่วยอย่างกะทันหันตอนใกล้สอบ และไม่สามารถมาสอบได้ ให้ปฏิบัติดังนี้
     1. ผู้ปกครองมาพบเจ้าหน้าที่งานทะเบียนวัดผลที่ห้องวิชาการ
     2. ยื่นคำร้องพร้อมแนบใบรับรองแพทย์
     3. นัดหมายเวลาที่จะมาสอบกับโรงเรียน
 8. การเปลี่ยนผลการเรียน 0 และการสอนซ่อมเสริม
     1. จัดให้เรียนซ่อมเสริมในตัวชี้วัดที่สอบไม่ผ่าน แล้วจึงสอบแก้ตัว ให้สอบแก้ตัวได้ไม่เกิน    2 ครั้ง การสอบแก้ตัวให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1”
     2. ถ้าสอบแก้ตัว 2 ครั้งแล้วยังได้ระดับผลการเรียน “0” อีก หรือ ไม่มาสอบแก้ตัวตามระยะเวลาที่กำหนด ให้เรียนซ้ำรายวิชานั้นถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐาน  
        ให้เรียนซ้ำรายวิชานั้นหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่  ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติม  โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา
 9. การนับเวลาเรียน และการเปลี่ยนผลการเรียน “มส”
     1. ถ้ามีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนในแต่ละวิชา    จะได้ “มส” หมายถึงไม่มีสิทธิ์เข้าสอบหรือไม่มีสิทธิ์เข้ารับ
         การประเมินปลายภาค ต้องเรียนเพิ่มเติมโดยใช้เวลาสอนซ่อมเสริม หรือเวลาว่าง หรือวันหยุด หรือมอบหมายงานให้ทำจนมีเวลาเรียนครบตาม
         ที่กำหนดในรายวิชานั้นแล้วจึงให้สอบ  ผลการสอบแก้ “มส” ให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1”
     2. ถ้ามีเวลาเรียนน้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนในแต่ละวิชา ให้เรียนซ้ำในรายวิชานั้น
 10. การเรียนซ้ำรายวิชา/ซ้ำชั้น
      สถานศึกษาจะจัดให้ผู้เรียนเรียนซ้ำใน  2  กรณี  ดังนี้
      กรณีที่  1  เรียนซ้ำรายวิชา  หากผู้เรียนได้รับการสอนซ่อมเสริมและสอบแก้ตัว  2  ครั้งแล้วไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน  ให้เรียนซ้ำรายวิชานั้น 
ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาในการจัดให้เรียนซ้ำในช่วงใดช่วงหนึ่งที่สถานศึกษาเห็นว่าเหมาะสม  เช่น  พักกลางวัน  วันหยุด 
ชั่วโมงว่างหลังเลิกเรียน  ภาคฤดูร้อน  เป็นต้น
     กรณีที่  2  เรียนซ้ำชั้น  มี  2  ลักษณะ  คือ
     -  ผู้เรียนมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า  1.00  และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น
     -  ผู้เรียนมีผลการเรียน  0, ร, มส  เกินครึ่งหนึ่งของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนใน  ปีการศึกษานั้น
     ทั้งนี้ หากเกิดลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือทั้ง 2 ลักษณะให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการการพิจารณา หากเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ให้ซ้ำชั้น 
โดยยกเลิกผลการเรียนเดิมและให้ใช้ผลการเรียนใหม่แทน  หากพิจารณาแล้วไม่ต้องเรียนซ้ำชั้นให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาในการแก้ไข
ผลการเรียน
 
หน้าต่อไป >
     
     
โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 82110 โทรศัพท์ 076-421118  โทรสาร 076-431331  E-mail : takuapasena@gmail.com
Web Master : JIRAYU SAETAE
Copyright © 2015. All Rights Reserved.